เครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ตัวประวัติศาสตร์

นี่คือเครื่องขยายเสียงกระเป๋าหิ้วตัวประวัติศาสตร์ อนาคตอาจต้องเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์.. เมื่อเช้าแจ็ค(จักรวาล)ขนเครื่องมือและข้าวของจาก ๒๙ ไร่ไปให้หลวงพี่ที่ศูนย์คลองสี่ (ดีใจมากเลยที่ได้เจอบาตรและพัดปธ.๓) หลวงพี่เลยติดรถแจ็คออกมาลงเมกาโฮมเพื่อซื้อโซ่ไปล่ามของและถือแอมป์ตัวนี้มาเซียร์เพื่อบำรุงรักษา มาถึงเซียร์ยังไม่เปิด เลยมานั่งรอในสตาร์บัคส์ นี่เป็นครั้งแรกในรอบเกือบยี่สิบปีที่เข้ามาในร้านสตาร์บัคส์แบบตัวคนเดียว ครั้งสุดท้ายคือตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นตอนยังไม่บวช แอมป์ตัวนี้อยู่กับหลวงพี่มาเกือบสิบปีแล้ว ใช้จัดงานบุญ ทั้งอบรมพระ เณร นักเรียน เยาวชน ทอดกฐิน ผ้าป่าฯลฯ หลายต่อหลายครั้ง แต่ครั้งที่ประทับใจที่สุดคือกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ ตอนนั้นหลวงพี่อยู่ที่สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เย็นวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ระดับปฏิบัติการท่านหนึ่งโทร.มาหาหลวงพี่แล้วบอกว่า “พอจ.ครับ ตอนนี้ทีมงาน ทหาร ตำรวจ ตชด. ฝ่ายปกครอง ป่าไม้ฯลฯ อยู่ที่สภอ.อุ้มผาง ฉายรูปพอจ.ขึ้นโปรเจคเตอร์และขอให้ตำรวจไปศาลแม่สอดเพื่อออกหมายจับพอจ.ในข้อหามีความประพฤติเป็นผู้มีอิทธิพลครับ.. พรุ่งนี้จะเข้าตรวจยึดศูนย์อบรมเยาวชนอุ้มผาง มีสื่อมวลชนติดตามมารอทำข่าวมากมาย” พอได้ทราบข่าวจากจนท.คนนั้นหลวงพี่ก็มานั่งทบทวนตัวเองว่าตั้งแต่อาสา(ไม่มีใครบังคับหรือจัดให้หลวงพี่ไปอุ้มผางนะ)มาทำงานพระศาสนาที่อุ้มผางนี่หลวงพี่ทำอะไรเสียหายหรือฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมืองบ้างไหม? ก็พบว่าเรามีความบริสุทธิ์ใจ และก็ทำตามขั้นตอน ธรรมเนียมในท้องถิ่นและกฎหมายบ้านเมืองทุกประการ หลวงพี่ก็เลยบอกสามเณรสมพจน์ว่า พรุ่งนี้เราไปที่ศูนย์อบรมเยาวชนอุ้มผางกัน(ศูนย์ฯอยู่ต.หนองหลวง คนละตำบลกับสำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์ซึ่งอยู่ต.แม่จัน) บอกให้สามเณรเตรียมเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่(ตัวประวัติศาสตร์ตามรูปข้างบน) ไปด้วย เห็นว่ามีนักข่าวมาเยอะเลย ก็ดีเหมือนกันพอจ.จะได้ไปชี้แจงให้ทั้งหมดทราบว่าอะไรเป็นอะไร ทั้งนี้เพราะเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตัวเอง หลังฉันเช้าเสร็จหลวงพี่ก็ห่มดองครองผ้า มีย่ามติดตัวใบเดียวพร้อมซองปัจจัย มีผ้าไตรติดตัวชุดเดียว มีสามเณรติดตามรูปเดียวพร้อมกับแอมป์เคลื่อนที่  ให้สารถีขับรถมุ่งหน้าสู่ศูนย์อบรมเยาวชนอุ้มผางที่ห่างออกไปทางไปตัวอำเภอ …

เครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ตัวประวัติศาสตร์ Read More »

บาตร

เพื่อให้เข้าบรรยากาศการอบรมธรรมทายาทในช่วงนี้วันนี้หลวงพี่จะมาเล่าเรื่องอัฐบริขารที่สำคัญของชีวิตพระอย่างหนึ่ง นั่นคือบาตร บาตรใบนี้ผ่านเรื่องราวมามากมาย อาจมีประสบการณ์การเดินทางมากกว่าหลายๆคนเสียด้วยซ้ำ สมัยหลวงพี่บวชใหม่ๆ แน่นอนหลวงพี่ก็ได้บาตรเหมือนธรรมทายาททั่วไป สลกบาตรทำจากผ้าหนาๆสีเหลือง ฐานบาตรเป็นพลาสติคสีเทา  พอบวชไปได้ 2-3 พรรษาหลวงพี่ชอบเดินบิณฑบาตสายหน้าโบสถ์ ข้ามคลองสามไปแถวหมู่บ้านตะวันทอง สายบิณฑบาตเส้นนั้นมีพระมหาสุรัตน์ อคฺครตโน ท่านเดินเป็นประจำ ท่านจึงคุ้นหน้าหลวงพี่ วันหนึ่งมีเจ้าภาพนำบาตรอย่างดีพร้อมสลกบาตรไหมพรมและฐานบาตรทำจากหวายสานมาถวายพม.สุรัตน์ประมาณ ๙ ใบ ท่านเมตตามอบบาตรพิเศษนี้ให้หลวงพี่ ๑ ใบ ในฐานะที่ออกบิณฑบาตจนท่านคุ้นหน้าตา จากนั้นหลวงพี่ก็ใช้บาตรใบนี้เรื่อยมาจากพรรษา ๓ ถึงปัจจุบันพรรษา ๑๘ ต่อมาหลวงพี่ได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านแถวๆตลาดไทย น่าจะชื่อหมู่บ้านพระปิ่น ๗ บิณฑบาตที่นั่นอยู่หลายปีด้วยบาตรใบนี้แหละ จนกระทั่งหลวงพี่ไปอุ้มผาง ก็ใช้บาตรใบนี้ตลอด บางทีเดินธุดงค์ข้ามป่าข้ามเขาก็เอาจีวร สบง อังสะที่แห้งๆใส่ในบาตรนี้ (หลังจากฉันเสร็จล้างสอาดแล้ว ตอนเดินธุดงค์ฉันมื้อเดียว) แม้ฝนตกหนักเปียกชุ่มไปทั้งตัว แต่พอถึงปลายทางก็มีชุดใหม่แห้งและอุ่นสบายไว้เปลี่ยน เพราะฝาบาตรช่วยปกป้องน้ำฝนไม่ให้เข้าไปภายใน จนกระทั่งเมื่อสองปีที่แล้วต้องไปเดนมาร์ก ก็รู้ว่าคงไม่ได้ไปบิณฑบาตรที่ไหน ถ้าไฟแรงออกไปบิณฑบาตอาจสร้างปัญหามากกว่าสร้างศรัทธาเพราะฝรั่งอาจไม่เข้าใจประเพณีการบิณฑบาตแบบชาวตะวันออก จึงไม่ได้เอาบาตรติดไปด้วย ในช่วงที่หลวงพี่อยู่เดนมาร์ก ทางวัดใหญ่มีการย้ายที่พักพระจากกุฏิสี่ที่รุ่นหลวงพี่อยู่มาตั้งแต่ปี ๔๙ ขึ้นอาคารพระผู้ปราบมาร ก็ฝากเพื่อนๆให้ช่วยย้ายของให้ ปรากฏว่าตอนกลับมาหาบาตรใบนี้ (และพัดปธ.๓) ไม่เจอแล้ว ถามใครๆก็ไม่เห็น เสียดายจริงๆ …

บาตร Read More »

เรื่องน่าอัศจรรย์ใจของจันทสราศรม

จันทสราศรม มาจากคำว่า จันทสโร (ฉายาของหลวงปู่สด) สนธิกับ อาศรม แปลว่าอาศรมของหลวงปู่สด จันทสโรพระผู้ปราบมารก็ได้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Moonastery Meditation Center ในพจนานุกรมไม่มีคำนี้ จะมีแต่คำว่า Monastery ซึ่งแปลว่าที่พักสงฆ์ หลวงพี่เติม ‘o’ เข้าไปอีกหนึ่งตัว จึงกลายเป็น Moon พระจันทร์ Moonastery จึงอาจแปลได้ว่าที่พักสงฆ์ของพระภิกษุผู้มีฉายาว่า จันทสโร หรือที่พักสงฆ์ของคุณยายจันทร์ ขนนกยูง ความน่าอัศจรรย์ใจที่ ๑ หลวงพี่ (พระมหาธาดา จรณธโร) อดีตประธานสงฆ์ศูนย์อบรมเยาวชนอุ้มผาง ได้พยายามทุกวิถีทางแล้วก็พบว่าไม่สามารถกลับไปทำงานที่อุ้มผางได้ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคมที่ผ่านมาหลวงพี่จึงได้เอาปัจจัยของศูนย์ที่เก็บไว้ทำงานต่อจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ไปทำบุญกฐินวัดพระธรรมกาย เท่ากับเป็นการประกาศยุติการทำงานที่อุ้มผางอย่างเป็นทางการ และหัวหน้างานของหลวงพี่(ในขณะนั้น)คือพระครูประคองศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายคอร์ซัวร์ลุสท์สโกว์ ประเทศเดนมาร์ก ได้มอบหมายให้หลวงพี่เดินทางไปเป็นพระอาจารย์สอนสมาธิของทวีปยุโรป ประจำที่ลอนดอน แต่ว่าหลวงพ่อครูไม่ใหญ่เคยฝันในฝันให้ว่าในพุทธันดรที่แล้ว เมื่อหลวงพี่มีอายุสังขารมากแล้วส่วนกลางเรียกกลับมาปฏิบัติธรรมแล้วก็ออกไปสร้างวัดที่หัวเมืองแห่งหนึ่ง และต่อมาวัดนี้ถือว่าเป็นวัดต้นแบบวัดหนึ่งในการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย หลวงพี่ก็คิดว่าชาตินี้ผังเคลื่อนไปไม่เหมือนในพุทธันดรที่แล้ว แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง กัลฯจินดา จึงรักเสรีชัย(พี่บุ๊ง) ได้ไปบอกบุญที่ดินกับกัลฯพรภัทรา พันธเสน(แม่นิด) …

เรื่องน่าอัศจรรย์ใจของจันทสราศรม Read More »

ต้อนรับปีขาลที่จันทสราศรม

ครั้งแรกที่หลวงพี่มาเยือนจันทสราศรมคือหลังวันออกพรรษาเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ หลังจากป๋าอธิราชและแม่นิด พรภัทรา พันธเสนนำสำเนาโฉนดที่ดินมามอบให้เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ครั้งที่สองนั้นติดรถมากับคณะของหลวงพี่หมอปองแห่งป่าแป๋เชียงใหม่เพื่อไปกราบคารวะฝากเนื้อฝากตัวกับเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนและมาพักอยู่ที่สำนักสงฆ์เขาดิน ครั้งนั้นไม่ได้ไปเหยียบแผ่นดินจันทสราศรมด้วยซ้ำ เพราะอยู่ในช่วงที่ป๋าอธิราชกำลังเจรจาต่อรองเพื่อขยายผืนดินให้จากเดิมที่ถวายมา ๑๘ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา เมื่อรู้แน่ว่ามีการทำสัญญาจะซื้อจะขายวางมัดจำที่ดินส่วนขยายอีก ๑๒ ไร่ ๑ งานเศษ โดยป๋าอธิราชเป็นผู้จ่ายค่ามัดจำทั้งหมดแล้ว หลวงพี่จึงได้เดินทางลงมาจันทสราศรมเป็นครั้งที่ ๓ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยตั้งใจว่ามาคราวนี้จะปักหลักสร้างกันเลยทีเดียว เวลาไม่คอยท่าแล้ว .. บางคนอาจสงสัยว่าทำใมหลวงพี่จะต้องรีบนักหนา คำตอบก็คือหลวงพี่มาบวชบูชาธรรมหลวงพ่อธัมมชโยตอนท่านอายุ ๖๐ ปีเมื่อปี ๒๕๔๗ และในปี ๒๕๖๗ ท่านจะมีอายุครบ ๘๐ ปีและหลวงพี่จะบวชครบ ๒๐ พรรษาเป็นพระมหาเถระ จึงต้องการสร้างจันทสราศรมให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติถวายบูชาธรรมท่าน ก็คือเหลือเวลาอีกเพียง ๒ ปีเศษเท่านั้น อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้งที่เหมาะกับการทำงานก่อสร้าง จากประสบการณ์ตอนอยู่อุ้มผางหลวงพี่รู้ดีว่าพอฤดูฝนมาเยือนแล้วงานก่อสร้างจะทำได้ล่าช้าและลำบากมาก เพราะฉะนั้นเราต้องรีบฉวยโอกาสนี้ทำงานพื้นฐานให้เร็วที่สุด งานพื้นฐานคืออะไร? …

ต้อนรับปีขาลที่จันทสราศรม Read More »